Tuesday, August 7, 2007

สรุปตามความเข้าใจอีกรอบ

*5 ต้องเป็นเหมือนประตูที่จะพาไปยัง 1 ได้ทุกครั้ง ต้องหาให้ได้ว่าจะเอาอะไรมาเป็นประตูนี้ดี

หลังจากได้รับการชี้แนะจากอาจารย์ทั้ง 2 ท่านแล้ว ก็ได้โครงสร้างขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างและเข้าใจมากยิ่งขึ้น และได้การบ้านชิ้นใหม่ให้มาขบต่อคือ ทำอย่างไรเพื่อจะคายเรื่องที่เราเคลือบเอาไว้ด้านนอก นั้นก็คือ นิทานไม่รู้จบ เราจะทำนิทานต่อไปหรือไม่ หรือ เราจะไปหาอย่างอื่นที่มีลักษณะเหมือนกับนิทานมาทำได้อีก

ทำไมนิทานจึงเอื้อกับการทำloop ?

-คิดว่า เพราะ นิทานมีจุดเริ่มเรื่องที่แน่นอน นั้นคือขึ้นว่ากาลครั้งหนึ่ง โดยจุดเริ่มนี้ เป็นจุดที่ทุกคนรู้เหมือนกันว่าเป็นตอนเริ่มของนิทานโดยทั่วๆไป 

แล้วจะหาอะไรมาแทนนิทานได้บ้าง ?

-ลองคิดถึง time based ที่มีการ link ไปยังเรื่องอื่นๆได้ โดยที่มีตัวกำหนดตายตัว อย่างเช่น การดูทีวีในเรื่อง ก็อาจจะเป็นตัว link ให้ไปสู่ sequence ต่อไปก็ได้ เป็นต้น

ฮึมๆๆๆ

Monday, August 6, 2007

ทดลอง1





ได้ทำการทดลองโดยการเน้นคำสำคัญ ที่ปกติจะใช้ในการช่วยเน้นคำที่มีความสำคัญ แต่ว่าจะเห็นว่าถ้าไม่อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ อ่านเพียงแต่ที่เน้น จะได้ข้อความที่ผิดไปจากที่ต้องการสื่อสาร

นิทานไม่รู้จบ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในป่าใหญ่ มีบ้านหลังเล็ก มีพ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่ ตกกลางคืนพ่อก็มักจะเล่านิทานหน้ากองไฟ นิทานเรื่องนั้นมีอยู่ว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในป่าใหญ่ มีบ้านหลังเล็ก มีพ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่ ตกกลางคืนพ่อก็มักจะเล่านิทานหน้ากองไฟ นิทานเรื่องนั้นมีอยู่ว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในป่าใหญ่ มีบ้านหลังเล็ก มีพ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่ ตกกลางคืนพ่อก็มักจะเล่านิทานหน้ากองไฟ นิทานเรื่องนั้นมีอยู่ว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในป่าใหญ่ มีบ้านหลังเล็ก มีพ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่ ตกกลางคืนพ่อก็มักจะเล่านิทานหน้ากองไฟ นิทานเรื่องนั้นมีอยู่ว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในป่าใหญ่ มีบ้านหลังเล็ก มีพ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่ ตกกลางคืนพ่อก็มักจะเล่านิทานหน้ากองไฟ นิทานเรื่องนั้นมีอยู่ว่า....

จากการที่เห็นลักษณะจากการวน จึงได้ทำการทดลองว่าเรา สามารถจะแทรกอะไรบางอย่างลงไป ในประโยคทั้งหมด

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในป่าใหญ่ มีบ้านหลังเล็ก มีพ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่ ตกกลางคืนพ่อก็มักจะเล่านิทานหน้ากองไฟ นิทานเรื่องนั้นมีอยู่ว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในป่าใหญ่ มีบ้านหลังเล็ก มีพ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่ ตกกลางคืนพ่อก็มักจะไปเล่านิทานหน้ากองไฟ นิทานเรื่องนั้นมีอยู่ว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในป่าใหญ่ มีบ้านหลังเล็ก มีพ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่ ตกกลางคืน กินข้าว พ่อก็มักจะเล่านิทานหน้ากองไฟ นิทานเรื่องนั้นมีอยู่ว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในป่าใหญ่ มีบ้านหลังเล็ก มีพ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่ ตกกลางคืนพ่อก็มักจะเล่านิทานหน้ากองไฟ นิทานเรื่องนั้นมีอยู่ว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ที่ร้านแห่งหนึ่ง ในป่าใหญ่ มีบ้านหลังเล็ก มีพ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่ ตกกลางคืนพ่อก็มักจะเล่านิทานหน้ากองไฟ นิทานเรื่องนั้นมีอยู่ว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในป่าใหญ่ข้างมหา'ลัย มีบ้านหลังเล็ก มีพ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่ ตกกลางคืนพ่อก็มักจะเล่านิทานหน้ากองไฟ นิทานเรื่องนั้นมีอยู่ว่า....

นิทานเรื่องนี้ link ไปสู่โครงสร้างของเต็ม เพราะว่าค้องเริ่มอ่านตั้งแต่ต้น เพราะว่าจะมีอะไรบางอย่างซ้อนอยู่ เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของสิ่งแรกเสมอ

คิดไปเรื่อยๆ

เหมือนการขัดจังหว่ะ อย่างเช่น ถ้าเราดูหนังเรื่องหนึ่งอยู่ แต่วาพอเรื่องดำเนินมาถึงจุดหนึ่ง เกิดเหตุการณืที่มีความเกี่ยวโยงกับเรื่องช่วงแรกที่เราจำไม่ได้แล้ว เราก็ต้องกรอกลับไปดูใหม่ ก็เหมือนกับ อาการอัลไซเมอร์ คือเมื่อพูดคุยกันไปซักพัก ผู้ป่วยจะเริ่มถามเรื่องเก่า ซึ่งเค้าจำไม่ได้แล้ว แทรกขึ้นมา ทำให้การสนทนาหยุดชะงัก แล้วพอผู้ป่วยได้คำตอบ ก็ต้องมานั่งคิดอีกว่า คุยกึงไหนกันแล้ว ถ้าเป็นหนัง ก็ต้องมานั่งกรอกลับมาที่เดิม แต่ก็เหมือนเป็นการเติมเต็มช่องว่างให้
นั่งคุณกะเพื่อนด้วยความเครียดอย่างสูงเกี่ยวกะวิชานี้ ร้องไห้ไปแล้วไม้รู้กี่รอบ
ก็ฮึดๆ เอาว่ะ! โดนดรอปก็โดนดรอป แต่ก็ขอสู้สุดไปก่อน
เฮ้อ~ขอให้ไม่เป็นการตัดสินใจที่ผิดด้วยเถอะ สาธุ

ทดลอง...ไปเรื่อย

"เพลิน เด็กสาวผมยาวสีดำสลวย ผู้มีนิสัยร่าเริง และมักมีรอยยิ้มอยู่บนใบหน้าเสมอ โบกมือทักทายกับเพื่อนสาวตัวน้อยที่ยืนคอยอยู่ที่ศาลาริมน้ำหน้าบ้านอย่างร่าเริง แล้วเพลิน เด็กสาวผมยาวสีดำสลวย ผู้มีนิสัยร่าเริง และมักมีรอยยิ้มอยู่บนใบหน้าเสมอก็รีบวิ่งลงบันไดมาด้วยความรวดเร็ว จนเสียงดังลั่นไปทั่วบ้าน

เรือนไทยริมน้ำหลังย่อม แต่นั้นกลับกลายเป็นเรื่องน่าเอ็ดดูของคุณยายที่นั่งห่อขนมอยู่ที่ชานบ้าน ถึงจะรีบอย่างไรเพลิน เด็กสาวผมยาวสีดำสลวย ผู้มีนิสัยร่าเริง และมักมีรอยยิ้มอยู่บนใบหน้าเสมอ ก็ไม่ลืมหันมากล่าวลาคุณยายก่อนที่จะวิ่งปรู้ดไปหาเพื่อนด้วยความตื่นเต้น เพลิน เป็นเด็กสาวผมยาวสีดำสลวย ผู้มีนิสัยร่าเริง และมักมีรอยยิ้มอยู่บนใบหน้าเสมอ ไม่ได้เจอเพื่อนคนนี้มาเกือบปี หลังจากที่เพื่อนต้องย้ายตามคุณพ่อไปอยู่ที่กรุงเทพฯ ทำเอาเพลิน เป็นเด็กสาวผมยาวสีดำสลวย ผู้มีนิสัยร่าเริง และมักมีรอยยิ้มอยู่บนใบหน้าเสมอ คิดถึงและมีเรื่องจะเล่ามากมาย จนแทบจะอดใจรอไว้ไม่ได้"

คิดเอาเอง

สูตรคูณก็เป็นโครงแบบนี้เหมือนกันนะ


เราเคยผ่านการทำเลขเร็วกันมาตอนเด็กๆ และจะเกลียดมากเมื่อโจทย์เป็นการคูณ เพราะว่าเด็กส่วนใหญ่ไม่สามารถท่องสูตรคูณจากตรงกลางได้เลย เพราะเราโดนสอนให้ท่องตั้งแต่ต้นจนจบ อย่างเช่น 9 x 8=? เราก็ต้องมาเริ่มคูณกันตั้งแต่ต้นแม่ 9 ก็คือ 9 x 1=9 ไปเรื่อยๆจน 9 x 8 = 72 กว่าจะเจอ เสียเวลา




Saturday, August 4, 2007

ลองดู

บทสนทนาของคนสองคนที่เป็นเพื่อนกัน


"วันนี้จะไปกินข้าวที่ร้านตรงปากซอยนะ"

"ร้านไหนอ่ะ"

"ร้านที่วันก่อนไปกินไง"

"อ๋อ"

"เออ นั้นแหละ ไปๆ"

"อืม"

"นี่ๆ กินเหมือนเดิมป่ะ"

"อะไรหล่ะ"

"ก็ที่กินที่ร้านกลางซอยประจำไง อะไรว่ะ ทำเป็นงง"

"อ๋อ"

"แล้วน้ำอ่ะ สั่งอันนั้นนะ"

"น้ำไรอ่ะ จำไม่ได้"

"ที่แกพาฉันไปกินที่ร้านพี่เพื่อนแกไง"

"วันไหนว่ะ"

"วันที่ฉันใส่เสื้อสีดำไง"

"ตัวไหนว่ะ"

"ตัวที่มีลายหมีไง

"อ๋อ เออๆ จำได้แล้ว"


มันต้องย้อนตลอดเลย ถ้าคนอื่นมานั่งฟังหรือไปกินกะพวกมันสองคน

คงงง เพราะไม่ได้ไปรู้ถึงความหลังของพวกมันสองคนด้วยเลย

Never Give Up Sequence Vol.2


 โครงอีกแบบหนึ่ง โดยคิดจากฝั่งของผู้ที่ไม่ได้เป็นอัลไซเมอร์ที่สนทนากับผู้ป่วย

เมื่ออาทิตย์ที่แล้วได้มีโอกาสพาคุณป้า ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ไปทำพาสปอร์ต และสิ่งที่ท่านต้องนำไปด้วยคือ บัตรประชาชน และพาสปอร์ตเล่มเก่า ซึ่งก่อนออกจากบ้าน ตัวเองเป็นคนจัดใส่กระเป๋าให้ท่านกับมือ พร้อมย้ำว่า ทุกอย่างเตรียมไปหมดแล้ว ไม่ตกหล่น เมื่อขับรถออกจากบ้านมาได้ประมาณ 10 นาที ท่านก็เริ่มถามว่า "ป้าต้องเอาอะไรมาบ้างนะ" เราก็ตอบว่า "บัตรประชาชนกับพาสปอร์ตเก่าค่ะ เต็มเอาใส่กระเป๋าแล้ว" ท่านก็ "อ๋อ ใช่ๆ" แล้วเงียบไป เวลาผ่านไปอีกไม่นาน ท่านก็เริ่มถามอีกแล้ว "ป้าต้องเอาอะไรมาบ้างนะ" เราก็ต้องตอบเหมือนเดิม สรุปแล้วระยะทางจากบ้านคุณป้ามาถึงที่ทำพาสปอร์ต ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ท่านถามคำถามว่า "ต้องเอาอะไรมาบ้างนะ" เกือบ 10 เที่ยว ทำเอาคนตอบถึงกับเซ็งไปเลยทีเดียว

จึงสรุป(เอาเอง)ได้ว่า โครงนี้เหมือนจะเป็นการย้อนซ้ำอะไรบ้างอย่าง คือ ไม่ว่าจะพูดเรื่องอะไรก็ตามก็จะย้อนกลับมายังจุดๆหนึ่ง เหมือนจะเป็นการทำเพื่อให้เกิดการจำได้ขึ้นมา เหมือนว่าคนปกติก็จำได้เลยในครั้งแรกๆ แต่พอเป็นสมองของผู้ท่ีป่วยโรคนี้จะต้องใช้มากกว่านั้นเพื่อให้เก็บเข้าไปในสมอง แต่ว่าอาการแบบนี้ทำให้ผู้ที่ร่วมสนทนาอาจเกิดอาการเบื่อได้ 
ก็รวบรวมความคิดคือ โครงการควรจะมีลักษณะอะไรที่เกิดจากการทำซ้ำๆ แล้วผลที่ตามมาคือความน่าเบื่อ อืมๆๆๆ แล้วไงหล่ะ เออ! 

Thursday, August 2, 2007

Never Give Up Sequence Vol.I


ระบบโครงสร้างของอาการความจำเสื่อม (แบบซ้ำๆ)


เคยเจอมั้ย คนที่พูดอะไรบ่อยจนน่าเบื่อ พูดซ้ำคำๆนั้นบ่อยมากๆ เช่น คำว่าครับ(ค่ะ), เออ, แล้วก็ ฯลฯ 
ยกตัวอย่างแบบ การจัดรายการวิทยุ การพูดสุภาพก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ควรจะละเอาไว้บ้างก็ได้ เช่น "สวัสดีครับ วันนี้มาเจอกันอีกแล้วนะครับ ผมดีใจมากเลยครับ เพลงที่เพิ่งจบไปนะครับ คือเพลง...ครับ เพราะมากเลยนะครับ ผมชอบศิลปินวงนี้มากเลยครับ" โอ้ย เบื่อมาก อยากจะเปลี่ยนคลื่นไปฟังอย่างอื่นทันที แต่ความจริงแล้ว เค้าอาจจะไม่ทราบเลยว่าเค้าพูดคำว่า"ครับ"มากจนเกินพอดี 
เปรียบเหมือนกับผู้ป่วย "โรคอัลไซเมอร์" ที่มักจะพูดอะไรซ้ำๆโดยที่ไม่รู้ตัว เพราะโดยความจริงแล้ว สมองของผู้ที่่ป่วยเป็นโรคนี้จะไม่มีศักยภาพในการจดจำความทรงจำใหม่ๆ หรือ ความจำระยะสั้นได้อีกแล้ว ดังนั้น สมองจึงทำการทบทวนสิ่งที่สำคัญทดแทน โดยการพูดสิ่งเหล่านั้นซ้ำๆ เพื่อจะย้ำให้จำนั้นเอง เหมือนอย่างเราจะเคยเจอคนแก่ที่จะถามคำถามซ้ำๆ ทั้งที่เพิ่งผ่านไปไม่ถึง 10 นาที นั้นเพราะสมองไม่ทำการจดจำสิ่งใหม่เข้าไปอีกแล้ว

เมื่อได้โครงสร้างมาแล้ว ก็นำมาคิดใหม่ ทำใหม่ เพราะที่ทำคราวที่แล้วมันหลงทาง ไม่เวิกค์ จึงได้ปรึกษาเพื่อนว่าเราควรจะทำอย่างไรต่อไปดี  จึงได้คำแนะนำว่า อย่าแต่งเร่ือง และ ไม่ควรคิดเรื่องไกลออกไปจากsequenceนัก เพราะที่ผ่านๆมาเหมือนเราหลงไปกับระบบที่เราจะนำมาอธิบาย โดยลืมไปว่าเราต้องทำให้ sequence เป็นตัวเอก จึงจะลองอะไรที่ใกล้ตัวก่อน อย่างเช่น ในการเขียนเรื่อง หรือบทความต่างๆ ก็มีความจำเป็นต้องเขียนให้ได้ใจความ และอ่านสนุก จึงเกิดการใช้สรรพนามแทนสิ่งต่างๆขึ้นมา เพื่อให้บทความนั้นๆ ไม่ซ้ำซากและยาวจนเกินไป ยกตัวอย่าง "หนูมาลี เป็นเด็กหญิงผมสั้น ชอบมัดแกละ และเลี้ยงแมว เธอ(สรรพนาม)อาศัยอยู่กับคุณย่าที่บ้านริมน้ำ" สรรพนาม ใช้เพื่อจะได้ไม่ต้องมาอธิบายคุณสมบัติบางอย่างซ้ำ 

สิ่งที่จะทดลองต่อไปก็คือ ถ้าเราเปลี่ยนการเขียนนิยาย หรือ บทความต่างๆ เอาคำสรรพนามออก ใส่ชื่อตัวละครนั้นซ้ำๆลงไปทุกประโยค อ่านไปเจอทุกบรรทัด โดยยืมเอาระบบของอัลไซเมอร์มาใช้

ชั้นนี่แหละ~TeM-TeM**

ชั้นนี่แหละ~TeM-TeM**
私は テーム です。

It's Me!!!

Id:1470800234 Fine And Applied Art Bangkok University
Powered By Blogger
Why World Hot หยุด! ภาวะโลกร้อน