ระบบโครงสร้างของอาการความจำเสื่อม (แบบซ้ำๆ)
เคยเจอมั้ย คนที่พูดอะไรบ่อยจนน่าเบื่อ พูดซ้ำคำๆนั้นบ่อยมากๆ เช่น คำว่าครับ(ค่ะ), เออ, แล้วก็ ฯลฯ
ยกตัวอย่างแบบ การจัดรายการวิทยุ การพูดสุภาพก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ควรจะละเอาไว้บ้างก็ได้ เช่น "สวัสดีครับ วันนี้มาเจอกันอีกแล้วนะครับ ผมดีใจมากเลยครับ เพลงที่เพิ่งจบไปนะครับ คือเพลง...ครับ เพราะมากเลยนะครับ ผมชอบศิลปินวงนี้มากเลยครับ" โอ้ย เบื่อมาก อยากจะเปลี่ยนคลื่นไปฟังอย่างอื่นทันที แต่ความจริงแล้ว เค้าอาจจะไม่ทราบเลยว่าเค้าพูดคำว่า"ครับ"มากจนเกินพอดี
เปรียบเหมือนกับผู้ป่วย "โรคอัลไซเมอร์" ที่มักจะพูดอะไรซ้ำๆโดยที่ไม่รู้ตัว เพราะโดยความจริงแล้ว สมองของผู้ที่่ป่วยเป็นโรคนี้จะไม่มีศักยภาพในการจดจำความทรงจำใหม่ๆ หรือ ความจำระยะสั้นได้อีกแล้ว ดังนั้น สมองจึงทำการทบทวนสิ่งที่สำคัญทดแทน โดยการพูดสิ่งเหล่านั้นซ้ำๆ เพื่อจะย้ำให้จำนั้นเอง เหมือนอย่างเราจะเคยเจอคนแก่ที่จะถามคำถามซ้ำๆ ทั้งที่เพิ่งผ่านไปไม่ถึง 10 นาที นั้นเพราะสมองไม่ทำการจดจำสิ่งใหม่เข้าไปอีกแล้ว
เมื่อได้โครงสร้างมาแล้ว ก็นำมาคิดใหม่ ทำใหม่ เพราะที่ทำคราวที่แล้วมันหลงทาง ไม่เวิกค์ จึงได้ปรึกษาเพื่อนว่าเราควรจะทำอย่างไรต่อไปดี จึงได้คำแนะนำว่า อย่าแต่งเร่ือง และ ไม่ควรคิดเรื่องไกลออกไปจากsequenceนัก เพราะที่ผ่านๆมาเหมือนเราหลงไปกับระบบที่เราจะนำมาอธิบาย โดยลืมไปว่าเราต้องทำให้ sequence เป็นตัวเอก จึงจะลองอะไรที่ใกล้ตัวก่อน อย่างเช่น ในการเขียนเรื่อง หรือบทความต่างๆ ก็มีความจำเป็นต้องเขียนให้ได้ใจความ และอ่านสนุก จึงเกิดการใช้สรรพนามแทนสิ่งต่างๆขึ้นมา เพื่อให้บทความนั้นๆ ไม่ซ้ำซากและยาวจนเกินไป ยกตัวอย่าง "หนูมาลี เป็นเด็กหญิงผมสั้น ชอบมัดแกละ และเลี้ยงแมว เธอ(สรรพนาม)อาศัยอยู่กับคุณย่าที่บ้านริมน้ำ" สรรพนาม ใช้เพื่อจะได้ไม่ต้องมาอธิบายคุณสมบัติบางอย่างซ้ำ
สิ่งที่จะทดลองต่อไปก็คือ ถ้าเราเปลี่ยนการเขียนนิยาย หรือ บทความต่างๆ เอาคำสรรพนามออก ใส่ชื่อตัวละครนั้นซ้ำๆลงไปทุกประโยค อ่านไปเจอทุกบรรทัด โดยยืมเอาระบบของอัลไซเมอร์มาใช้
No comments:
Post a Comment